วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

การบริหารแบบมีส่วนร่วม
                การบริหารแบบมีส่วนร่วม หมายถึง  การที่บุคคลได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานทั้งทางด้านการ  แสดงความคิดเห็น การตัดสินใจ  การรับผิดชอบ  การวางแผนการปฏิบัติงานตลอดจนการประเมินผล โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ และความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
               เดวิด  แมคเคลแลนด์   ได้ศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับสิ่งจูงใจของมนุษย์ในการทำงานให้เกิดผลสำเร็จ
 สรุปว่าคนเรามีความต้องการ 3 ระดับ คือ
              1.ความต้องการสัมฤทธิ์ผล (need for achievement)
              2.ความต้องการความผูกพัน (need for affilaition)
              3.ความต้องการมีอำนาจบารมี (need for power)
               เรนซิส  ไลเคิร์ส  เสนอทฤษฎีการบริหารซึ่งมีรูปแบบแตกต่างกัน 4 รูปแบบเรียกว่าการบริหาร
 4 ระบบ  คือ
   1.ระบบเผด็จการ (Exploitative  Authoritative)        
   2.ระบบเผด็จการแบบมีศิลป์ (Bebevolent  Authoritative)
  3.ระบบการปรึกษาหารือ (Consultative)                  
 4.ระบบกลุ่มที่มีส่วนร่วม (Participative  Group)
อุทัย  บุญประเสริฐ  กล่าวถึงการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยมีแนวคิดพื้นฐานดังนี้
           1. ความเชื่อเรื่องธรรมชาติของมนุษย์   ตามทฤษฎี x และทฤษฎี y ของแมค  เกรเกอ
           2. ความคิดเกี่ยวกับความเป็นองค์การของโรงเรียน  
           3.ในด้านรูปแบบการตัดสินใจ   
           4. แบบภาวะผู้นำ  ตามทฤษฎีของ Sergiovanni  จัดระดับภาวะผู้นำ  5  ระดับ คือ
             4.1 ภาวะผู้นำด้านเทคนิค         
             4.2 ภาวะผู้นำด้านมนุษย์  4.3ภาวะผู้นำทางการศึกษา 
            4.4 ภาวะผู้นำเชิงสัญลักษณ์   4.5ภาวะผู้นำทางวัฒนธรรม
          5. กลยุทธ์การใช้อำนาจของ French และ Raven ได้แบ่งที่มาของอำนาจ ไว้  5  แบบคือ
             5.1 อำนาจจากการให้รางวัล           
             5.2 อำนาจจากการบังคับ   
             5.3 อำนาจตามกฎหมาย
            5.4 อำนาจจากการอ้างอิง 
            5.5 อำนาจจากความรู้เชี่ยวชาญ
      6. ทักษะเฉพาะในการบริหาร  การบริหารแบบใหม่ที่ได้รับการพัฒนาและนำมาใช้ในองค์กร
      7. การใช้ทรัพยากร  สถาบันมีอำนาจในการใช้และบริหารทรัพยากรมากขึ้น
องค์ประกอบของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
            1.การไว้วางใจกัน (Trust)     
            2.ความยึดมั่นผูกพัน (Commitment) 
            3.การตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์เดียวกัน (Goals  and  Objective) 
            4.ความเป็นอิสระต่อความรับผิดชอบในงาน (Automomy)
     ไลเคิร์ท  ได้แสดงให้เห็นสาระสำคัญของการบริหารแบบมีส่วนร่วมดังนี้
             1.ผู้บังคับบัญชา  รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ใต้บังคับบัญชา
             2.ผู้บังคับบัญชากระตุ้นจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา  ให้เกิดกำลังใจในการปฏิบัติงาน
             3.ระบบการติดต่อสื่อสาร  ภายในองค์กรมีความคล่องตัวเป็นไปโดยอิสระ
             4.ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา  มีปฏิกิริยาโต้ตอบกันอย่างเปิดเผยและโดย
กว้างขวาง
             5.การตัดสินใจต่างๆ  ทำโดยกลุ่มทุกระดับองค์กรเปิดโอกาสให้กลุ่มเข้ามามีส่วนร่วม
             6.การควบคุมงาน  มีลักษณะกระจายไปในกลุ่มผู้ร่วมงานให้ควบคุมกันเองและเน้นการแก้ปัญหาเป็นหลัก
             7.ผู้บังคับบัญชา  เห็นความสำคัญของการพัฒนาพนักงาน  โดยการฝึกอบรม
ประโยชน์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
             1.ก่อให้เกิดความสามัคคีระหว่างผู้บริหารและผู้ร่วมงานทุกระดับในองค์กร
             2.ลดความขัดแย้งในการทำงาน  เพิ่มความไว้วางใจซึ่งกันและกันมากขึ้น  
             3.สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
             4.ช่วยให้ผู้ร่วมงานมีสุขภาพจิตดี  ทุกคนมีงานทำ  
             5.สร้างความเป็นประชาธิปไตยในองค์กร
             6.ลดค่าใช้จ่ายและใช้ทรัพยากรอย่างทะนุถนอม   
             7.ช่วยให้การใช้งบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
             8.ช่วยให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
ข้อจำกัดและอุปสรรคของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ข้อควรคำนึงและระมัดระวังในข้อจำกัดและอุปสรรคของการบริหารแบบมีส่วนร่วม  ในการแสดงความคิดเห็นและการ ตัดสินใจเพราะอาจทำให้เกิดกลุ่มอิทธิพลขึ้นได้   สรุป  การบริหารแบบมีส่วนร่วมจะเกิดประโยชน์เมื่อผู้บังคับบัญชา  ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง  ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมรับผิดชอบ  ร่วมวางแผน  ร่วมปฏิบัติงานตลอดจนถึงการประเมินผล  โดนใช้ความคิดสร้างสรรค์และความเชี่ยวชาญ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์                                                                                                      
                                                                                                                             
                         รวบรวมโดย นางชนิตา  อุ่นทานนท์  นางวราพร  โมกไธสง  นางละไม  แสนเจ๊ก 

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แอ่วเมืองเหนือ

เรียงลำดับตามความสวย
 
อย่าดูแบล็คกราวนะดูห้าสาวดีกว่า


เลือกได้ตามชอบนะคะ

ห้าสาวกับดอกไม้ใครสวย

ขอเป็นชาวเขาหน่อยนะคะ


ถ่ายภาพร่วมกับคระครูที่ไปศึกษาดูงานทางภาคเหนือ

                                   

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ผู้บริหารมืออาชีพ

ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ

                คำว่า ผู้บริหาร  ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ1 มี 2 ความหมาย คือ
               ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
               ผู้บริหารการศึกษา  หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
               ผู้บริหารมืออาชีพ ยังเป็นคำที่ค่อนข้างใหม่สำหรับวงการศึกษาเพิ่มจะเริ่มเป็นที่กล่าวถึงมากขึ้นก็เมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งในหมวด 7 ได้กำหนดไว้ว่า ทั้งผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายกำหนด
                แม้จะยังไม่มีใครให้คำจำกัดความไว้ที่ชัดเจนว่าผู้บริหารมืออาชีพทางการศึกษามีลักษณะอย่างไร แต่ในที่นี้หมายถึงผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและจัดการศึกษาทั้งในระดับสถานศึกษาและในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
                โดยภาพรวม คำว่า มืออาชีพ หรือ “Professional”  มีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. ต้องเป็นคนที่ยังชีพด้วยงานนั้น คือ ต้องมีรายได้หลักจากการงานในวิชาชีพที่ทำ และทุ่มเทเวลาให้กับงานในอาชีพนั้นจริง ๆ
2. ต้องมีการศึกษาและอบรม เพื่อให้มีความรู้ มีศาสตร์ มีหลักการ มีทฤษฎี มีการวิจัยค้น จนรู้ชัดและรู้จริง และมีการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
3. ต้องนำศาสตร์ไปใช้ในการบริหาร  มีการฝึกฝนอย่างจริงจังในอาชีพนั้น ๆ จริง ๆ จนเกิดความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ที่มากพอ
4. ต้องมีการรับรองมาตรฐานแห่งวิชาชีพ  โดยมีการออกใบรับรองหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ  เช่น แพทย์  พยาบาล  ทนายความ  นักบัญชี สถาปนิก วิศวกร  เป็นต้น ซึ่งในการตัดสินใจ การวิเคราะห์ และการดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพดังกล่าว จะต้องใช้ผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเท่านั้น
5. ต้องมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ สำหรับยึดถือและปฏิบัติโดยเคร่งครัด
6. มีองค์กรหรือสมาคมวิชาชีพให้การรับรอง โดยการออกใบประกอบวิชาชีพ  เพื่อควบคุมกำกับดูแลคุณภาพ มาตรฐาน และจรรยาบรรณ รวมทั้งมีมาตรการลงโทษเมื่อมีการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
จะเห็นว่า วิชาชีพที่มีการรับรองทั้งหลายล้วนแล้วแต่ใช้ทฤษฎีหลักการ และองค์ความรู้ และองค์ความรู้ที่ร่ำเรียนมาทั้งสิ้น แต่นักบริหารการศึกษาของเราน้อยรายนักที่จะใช้ศาสตร์ในการบริหารงาน ส่วนมากมักบริหารโดยไม่ใช้ทฤษฎี ซึ่งอาจจะเป็นเพราะการศึกษาอบรมไม่เข้มข้น ไม่มีการเชื่อมโยงทฤษฎีกับชีวิตการทำงาน  และขาดการฝึกฝนอย่างเพียงพอ ทำให้การบริหารกันแบบ มั่ว แมเนจเมนท์  เป็นส่วนใหญ่ ทั้ง ๆ ที่การศึกษาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
                สังคมไทยอยากเห็นผู้บริหารการศึกษาของเราเป็น ผู้บริหารมืออาชีพ มีความรู้และประสบการณ์สมกับเป็นผู้บริหารบุคลากรที่เป็นครูมืออาชีพแล้ว  ผู้บริหารยุคใหม่ต้องเป็นผู้นำทางวิชาการ  เป็นผู้นำการปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติโดยเฉพาะผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความสามารถใน การบริหารโดยการใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-based Management) ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะประสานการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ความสามารถในการระดมและใช้ทรัพยากรเพื่อการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ตลอดจนจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพ เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ  ไม่บริหารแบบมั่ว ๆ โดยไม่ใช้ศาสตร์หรือความรู้ที่ร่ำเรียนมา
                แม้ว่าการบริหารหน่วยงานทางการศึกษาจะไม่เห็นผลกำไรหรือขาดทุนอย่างชัดเจนอย่างภาคเอกชน  แต่เราสามารถประเมินได้ว่า  ผู้บริหารคนไหนเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ก็คือ 
1. วัดจากความสำเร็จของการปฏิบัติงาน (Outputs)โดยวัดที่การบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร ซึ่งวัตถุประสงค์ของการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  คือ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และมีคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาชาติ ดังนั้น การพิจารณาว่าคนที่เข้ามาเรียนได้เกิดการเรียนรู้หรือไม่ ก็วัดได้โดยใช้มาตรฐานหรือตัวบ่งชี้ แต่ผู้บริหารมืออาชีพมิใช่เพียงทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์เท่านั้น แต่ต้องสามารถบริหารและจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย คือ ให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูงที่สุดโดยมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
2.  วัดจากความสามารถในกระบวนการบริหาร (Process) ผู้บริหารมืออาชีพต้องใช้กระบวนการ P-D-C-A  วางแผนเก่ง วางแผนเป็นนำแผนฯ ที่วางไว้ไปสู่การปฏิบัติจริง  ไม่กลัวการประเมินเพื่อพัฒนา  และปรับเป้าหมายเพื่อให้วงจรการทำงานในขั้นต่อไปดีขึ้นตลอดเวลา  ฉะนั้น  ผู้บริหารมืออาชีพต้องใช้วิจัยในกระบวนการบริหาร รวมทั้งต้องมีวิสัยทัศน์มีกลยุทธ์ที่สามารถเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสอยู่เสมอนอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีระบบการสรรหาและเตรียมความพร้อมทุกด้านให้กับผู้บริหารมืออาชีพก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง  มีการพัฒนาระหว่างประจำการ  และมีการประเมินผลงานเพื่อปรับปรุงตลอดเวลา
                สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ถ้าอ่านพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติอย่างรอบคอบจะพบว่า  ผู้บริหารมืออาชีพต้องสามารถปฏิบัติภารให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ ต้องส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้ คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถจัดการศึกษาได้ทั้ง 3รูปแบบ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร จัดให้ระบบการประกันคุณภาพภายใน บริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร และการจัดการเรียนการสอน
                ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความสามารถในการจัดการใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุดโดยประหยัดสุด ผู้บริหารมืออาชีพจะไม่ท่องคาถาเชย ๆ ที่สะท้อนปัญหาซ้ำซากของการบริหารแบบโบราณที่ว่า ขาดคน ขาดเงิน  อีกต่อไป ให้เกียรติและยกย่องครู ผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders)กับการบริหารและจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผู้บริหารมืออาชีพต้องมองเห็นความสำคัญและยกย่องให้เกียรติกรรมการสถานศึกษา ตลอดจนผู้ปกครองและชุมชน  ในฐานะเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่า  สามารถสนับสนุนสถานศึกษาได้ทั้งในเรื่องคำแนะนำ  ความคิดเห็น ภูมิปัญญาความรู้ อาคารสถานที่  แหล่งเรียนรู้ ฯลฯ
                ผู้บริหารมืออาชีพ คือ ความหวังของการศึกษาไทย เป็นความหวังสำหรับเยาวชนผู้เป็นอนาคตของชาติและสังคมไทยโดยรวม แม้จะเริ่มต้นโดยความพยายามในการสร้างผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบจำนวนไม่มากนัก แต่การขยายผลอย่างมั่นคงและต่อเนื่องจะนำไปสู่การยกระดับผู้บริหารสถานศึกษาทั้งประเทศให้เป็นผู้บริหารมืออาชีพโดยทั่วหน้ากัน  ประเทศไทยเราจะมีผู้บริหารสถานศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าประเทศใด  ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพเหล่านี้แหละที่จะเป็นผู้นำการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยอย่างแท้จริง
               

1 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545, สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
2 การบริหารเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้, ดร.รุ่ง  แก้วแดง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, สิงหาคม 2545
3 อ้างแล้วข้อ 2