วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แอ่วเมืองเหนือ

เรียงลำดับตามความสวย
 
อย่าดูแบล็คกราวนะดูห้าสาวดีกว่า


เลือกได้ตามชอบนะคะ

ห้าสาวกับดอกไม้ใครสวย

ขอเป็นชาวเขาหน่อยนะคะ


ถ่ายภาพร่วมกับคระครูที่ไปศึกษาดูงานทางภาคเหนือ

                                   

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ผู้บริหารมืออาชีพ

ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ

                คำว่า ผู้บริหาร  ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ1 มี 2 ความหมาย คือ
               ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
               ผู้บริหารการศึกษา  หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
               ผู้บริหารมืออาชีพ ยังเป็นคำที่ค่อนข้างใหม่สำหรับวงการศึกษาเพิ่มจะเริ่มเป็นที่กล่าวถึงมากขึ้นก็เมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งในหมวด 7 ได้กำหนดไว้ว่า ทั้งผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายกำหนด
                แม้จะยังไม่มีใครให้คำจำกัดความไว้ที่ชัดเจนว่าผู้บริหารมืออาชีพทางการศึกษามีลักษณะอย่างไร แต่ในที่นี้หมายถึงผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและจัดการศึกษาทั้งในระดับสถานศึกษาและในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
                โดยภาพรวม คำว่า มืออาชีพ หรือ “Professional”  มีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. ต้องเป็นคนที่ยังชีพด้วยงานนั้น คือ ต้องมีรายได้หลักจากการงานในวิชาชีพที่ทำ และทุ่มเทเวลาให้กับงานในอาชีพนั้นจริง ๆ
2. ต้องมีการศึกษาและอบรม เพื่อให้มีความรู้ มีศาสตร์ มีหลักการ มีทฤษฎี มีการวิจัยค้น จนรู้ชัดและรู้จริง และมีการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
3. ต้องนำศาสตร์ไปใช้ในการบริหาร  มีการฝึกฝนอย่างจริงจังในอาชีพนั้น ๆ จริง ๆ จนเกิดความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ที่มากพอ
4. ต้องมีการรับรองมาตรฐานแห่งวิชาชีพ  โดยมีการออกใบรับรองหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ  เช่น แพทย์  พยาบาล  ทนายความ  นักบัญชี สถาปนิก วิศวกร  เป็นต้น ซึ่งในการตัดสินใจ การวิเคราะห์ และการดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพดังกล่าว จะต้องใช้ผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเท่านั้น
5. ต้องมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ สำหรับยึดถือและปฏิบัติโดยเคร่งครัด
6. มีองค์กรหรือสมาคมวิชาชีพให้การรับรอง โดยการออกใบประกอบวิชาชีพ  เพื่อควบคุมกำกับดูแลคุณภาพ มาตรฐาน และจรรยาบรรณ รวมทั้งมีมาตรการลงโทษเมื่อมีการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
จะเห็นว่า วิชาชีพที่มีการรับรองทั้งหลายล้วนแล้วแต่ใช้ทฤษฎีหลักการ และองค์ความรู้ และองค์ความรู้ที่ร่ำเรียนมาทั้งสิ้น แต่นักบริหารการศึกษาของเราน้อยรายนักที่จะใช้ศาสตร์ในการบริหารงาน ส่วนมากมักบริหารโดยไม่ใช้ทฤษฎี ซึ่งอาจจะเป็นเพราะการศึกษาอบรมไม่เข้มข้น ไม่มีการเชื่อมโยงทฤษฎีกับชีวิตการทำงาน  และขาดการฝึกฝนอย่างเพียงพอ ทำให้การบริหารกันแบบ มั่ว แมเนจเมนท์  เป็นส่วนใหญ่ ทั้ง ๆ ที่การศึกษาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
                สังคมไทยอยากเห็นผู้บริหารการศึกษาของเราเป็น ผู้บริหารมืออาชีพ มีความรู้และประสบการณ์สมกับเป็นผู้บริหารบุคลากรที่เป็นครูมืออาชีพแล้ว  ผู้บริหารยุคใหม่ต้องเป็นผู้นำทางวิชาการ  เป็นผู้นำการปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติโดยเฉพาะผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความสามารถใน การบริหารโดยการใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-based Management) ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะประสานการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ความสามารถในการระดมและใช้ทรัพยากรเพื่อการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ตลอดจนจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพ เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ  ไม่บริหารแบบมั่ว ๆ โดยไม่ใช้ศาสตร์หรือความรู้ที่ร่ำเรียนมา
                แม้ว่าการบริหารหน่วยงานทางการศึกษาจะไม่เห็นผลกำไรหรือขาดทุนอย่างชัดเจนอย่างภาคเอกชน  แต่เราสามารถประเมินได้ว่า  ผู้บริหารคนไหนเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ก็คือ 
1. วัดจากความสำเร็จของการปฏิบัติงาน (Outputs)โดยวัดที่การบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร ซึ่งวัตถุประสงค์ของการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  คือ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และมีคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาชาติ ดังนั้น การพิจารณาว่าคนที่เข้ามาเรียนได้เกิดการเรียนรู้หรือไม่ ก็วัดได้โดยใช้มาตรฐานหรือตัวบ่งชี้ แต่ผู้บริหารมืออาชีพมิใช่เพียงทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์เท่านั้น แต่ต้องสามารถบริหารและจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย คือ ให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูงที่สุดโดยมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
2.  วัดจากความสามารถในกระบวนการบริหาร (Process) ผู้บริหารมืออาชีพต้องใช้กระบวนการ P-D-C-A  วางแผนเก่ง วางแผนเป็นนำแผนฯ ที่วางไว้ไปสู่การปฏิบัติจริง  ไม่กลัวการประเมินเพื่อพัฒนา  และปรับเป้าหมายเพื่อให้วงจรการทำงานในขั้นต่อไปดีขึ้นตลอดเวลา  ฉะนั้น  ผู้บริหารมืออาชีพต้องใช้วิจัยในกระบวนการบริหาร รวมทั้งต้องมีวิสัยทัศน์มีกลยุทธ์ที่สามารถเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสอยู่เสมอนอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีระบบการสรรหาและเตรียมความพร้อมทุกด้านให้กับผู้บริหารมืออาชีพก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง  มีการพัฒนาระหว่างประจำการ  และมีการประเมินผลงานเพื่อปรับปรุงตลอดเวลา
                สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ถ้าอ่านพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติอย่างรอบคอบจะพบว่า  ผู้บริหารมืออาชีพต้องสามารถปฏิบัติภารให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ ต้องส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้ คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถจัดการศึกษาได้ทั้ง 3รูปแบบ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร จัดให้ระบบการประกันคุณภาพภายใน บริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร และการจัดการเรียนการสอน
                ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความสามารถในการจัดการใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุดโดยประหยัดสุด ผู้บริหารมืออาชีพจะไม่ท่องคาถาเชย ๆ ที่สะท้อนปัญหาซ้ำซากของการบริหารแบบโบราณที่ว่า ขาดคน ขาดเงิน  อีกต่อไป ให้เกียรติและยกย่องครู ผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders)กับการบริหารและจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผู้บริหารมืออาชีพต้องมองเห็นความสำคัญและยกย่องให้เกียรติกรรมการสถานศึกษา ตลอดจนผู้ปกครองและชุมชน  ในฐานะเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่า  สามารถสนับสนุนสถานศึกษาได้ทั้งในเรื่องคำแนะนำ  ความคิดเห็น ภูมิปัญญาความรู้ อาคารสถานที่  แหล่งเรียนรู้ ฯลฯ
                ผู้บริหารมืออาชีพ คือ ความหวังของการศึกษาไทย เป็นความหวังสำหรับเยาวชนผู้เป็นอนาคตของชาติและสังคมไทยโดยรวม แม้จะเริ่มต้นโดยความพยายามในการสร้างผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบจำนวนไม่มากนัก แต่การขยายผลอย่างมั่นคงและต่อเนื่องจะนำไปสู่การยกระดับผู้บริหารสถานศึกษาทั้งประเทศให้เป็นผู้บริหารมืออาชีพโดยทั่วหน้ากัน  ประเทศไทยเราจะมีผู้บริหารสถานศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าประเทศใด  ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพเหล่านี้แหละที่จะเป็นผู้นำการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยอย่างแท้จริง
               

1 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545, สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
2 การบริหารเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้, ดร.รุ่ง  แก้วแดง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, สิงหาคม 2545
3 อ้างแล้วข้อ 2