วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

การบริหารแบบมีส่วนร่วม
                การบริหารแบบมีส่วนร่วม หมายถึง  การที่บุคคลได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานทั้งทางด้านการ  แสดงความคิดเห็น การตัดสินใจ  การรับผิดชอบ  การวางแผนการปฏิบัติงานตลอดจนการประเมินผล โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ และความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
               เดวิด  แมคเคลแลนด์   ได้ศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับสิ่งจูงใจของมนุษย์ในการทำงานให้เกิดผลสำเร็จ
 สรุปว่าคนเรามีความต้องการ 3 ระดับ คือ
              1.ความต้องการสัมฤทธิ์ผล (need for achievement)
              2.ความต้องการความผูกพัน (need for affilaition)
              3.ความต้องการมีอำนาจบารมี (need for power)
               เรนซิส  ไลเคิร์ส  เสนอทฤษฎีการบริหารซึ่งมีรูปแบบแตกต่างกัน 4 รูปแบบเรียกว่าการบริหาร
 4 ระบบ  คือ
   1.ระบบเผด็จการ (Exploitative  Authoritative)        
   2.ระบบเผด็จการแบบมีศิลป์ (Bebevolent  Authoritative)
  3.ระบบการปรึกษาหารือ (Consultative)                  
 4.ระบบกลุ่มที่มีส่วนร่วม (Participative  Group)
อุทัย  บุญประเสริฐ  กล่าวถึงการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยมีแนวคิดพื้นฐานดังนี้
           1. ความเชื่อเรื่องธรรมชาติของมนุษย์   ตามทฤษฎี x และทฤษฎี y ของแมค  เกรเกอ
           2. ความคิดเกี่ยวกับความเป็นองค์การของโรงเรียน  
           3.ในด้านรูปแบบการตัดสินใจ   
           4. แบบภาวะผู้นำ  ตามทฤษฎีของ Sergiovanni  จัดระดับภาวะผู้นำ  5  ระดับ คือ
             4.1 ภาวะผู้นำด้านเทคนิค         
             4.2 ภาวะผู้นำด้านมนุษย์  4.3ภาวะผู้นำทางการศึกษา 
            4.4 ภาวะผู้นำเชิงสัญลักษณ์   4.5ภาวะผู้นำทางวัฒนธรรม
          5. กลยุทธ์การใช้อำนาจของ French และ Raven ได้แบ่งที่มาของอำนาจ ไว้  5  แบบคือ
             5.1 อำนาจจากการให้รางวัล           
             5.2 อำนาจจากการบังคับ   
             5.3 อำนาจตามกฎหมาย
            5.4 อำนาจจากการอ้างอิง 
            5.5 อำนาจจากความรู้เชี่ยวชาญ
      6. ทักษะเฉพาะในการบริหาร  การบริหารแบบใหม่ที่ได้รับการพัฒนาและนำมาใช้ในองค์กร
      7. การใช้ทรัพยากร  สถาบันมีอำนาจในการใช้และบริหารทรัพยากรมากขึ้น
องค์ประกอบของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
            1.การไว้วางใจกัน (Trust)     
            2.ความยึดมั่นผูกพัน (Commitment) 
            3.การตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์เดียวกัน (Goals  and  Objective) 
            4.ความเป็นอิสระต่อความรับผิดชอบในงาน (Automomy)
     ไลเคิร์ท  ได้แสดงให้เห็นสาระสำคัญของการบริหารแบบมีส่วนร่วมดังนี้
             1.ผู้บังคับบัญชา  รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ใต้บังคับบัญชา
             2.ผู้บังคับบัญชากระตุ้นจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา  ให้เกิดกำลังใจในการปฏิบัติงาน
             3.ระบบการติดต่อสื่อสาร  ภายในองค์กรมีความคล่องตัวเป็นไปโดยอิสระ
             4.ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา  มีปฏิกิริยาโต้ตอบกันอย่างเปิดเผยและโดย
กว้างขวาง
             5.การตัดสินใจต่างๆ  ทำโดยกลุ่มทุกระดับองค์กรเปิดโอกาสให้กลุ่มเข้ามามีส่วนร่วม
             6.การควบคุมงาน  มีลักษณะกระจายไปในกลุ่มผู้ร่วมงานให้ควบคุมกันเองและเน้นการแก้ปัญหาเป็นหลัก
             7.ผู้บังคับบัญชา  เห็นความสำคัญของการพัฒนาพนักงาน  โดยการฝึกอบรม
ประโยชน์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
             1.ก่อให้เกิดความสามัคคีระหว่างผู้บริหารและผู้ร่วมงานทุกระดับในองค์กร
             2.ลดความขัดแย้งในการทำงาน  เพิ่มความไว้วางใจซึ่งกันและกันมากขึ้น  
             3.สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
             4.ช่วยให้ผู้ร่วมงานมีสุขภาพจิตดี  ทุกคนมีงานทำ  
             5.สร้างความเป็นประชาธิปไตยในองค์กร
             6.ลดค่าใช้จ่ายและใช้ทรัพยากรอย่างทะนุถนอม   
             7.ช่วยให้การใช้งบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
             8.ช่วยให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
ข้อจำกัดและอุปสรรคของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ข้อควรคำนึงและระมัดระวังในข้อจำกัดและอุปสรรคของการบริหารแบบมีส่วนร่วม  ในการแสดงความคิดเห็นและการ ตัดสินใจเพราะอาจทำให้เกิดกลุ่มอิทธิพลขึ้นได้   สรุป  การบริหารแบบมีส่วนร่วมจะเกิดประโยชน์เมื่อผู้บังคับบัญชา  ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง  ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมรับผิดชอบ  ร่วมวางแผน  ร่วมปฏิบัติงานตลอดจนถึงการประเมินผล  โดนใช้ความคิดสร้างสรรค์และความเชี่ยวชาญ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์                                                                                                      
                                                                                                                             
                         รวบรวมโดย นางชนิตา  อุ่นทานนท์  นางวราพร  โมกไธสง  นางละไม  แสนเจ๊ก